วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์

การบริหาร

วิวัฒนาการทางการบริหาร
การศึกษาวิวัฒนาการของวิชาการบริหารอาจแบ่งได้ 3 ยุค คือ
1.ยุคก่อนสงครามโลก (1887-1929)
2.ยุคสงครามโลก (1930-1967)
3.ยุคปัจจุบัน (1968-ปัจจุบัน)
1.ยุคก่อนสงครามโลก (1887-1929)
- เน้นแนวคิดในการแยกการบริหารออกจากการเมือง นักวิชาการกลุ่มรัฐประศาสนศาสตร์แยกการบริหารออกจากการเมืองจากสาเหตุการฉ้อราษฎร์หลวง การเล่นพรรคเล่นพวกในระบบราชการจึงสนใจในการพัฒนาระบบราชการอย่างจริงจัง แยกระบบราชการออกจากงานการเมืองเพื่อลดอำนาจการควบคุมของฝ่ายการเมือง
- กลุ่มนักวิชาพฤติกรรมศาสตร์เสนอแนวคิดแยกการบริหารออกจากการเมืองว่าด้วยทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองอำนาจผู้ปกครองนั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใต้บังคับบัญชา โดยแบ่งอำนาจปกครองออกเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบอาศัยบารมี 2) แบบอาศัยจารีตประเพณี 3) แบบอาศัยกฎหมาย
- นักวิชาการกลุ่มวิชาศาสตร์การบริหารและกลุ่มวิชามนุษย์สัมพันธ์ เป็นการดำเนินการแนววิทยาศาสตร์บนพื้นฐานหลักการและเหตุผลซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ
1) วิธีการทำงานที่ดีที่สุด ซึ่งได้แก่ ผลสำเร็จของงานโดยคำนึงถึงตัวแปรกับค่านิยม สิ่งแวดล้อม ทัศนคติ และปัญหา
2) หลักการทำงาน ซึ่งได้แก่ การสรรหาคนที่พร้อมด้วยความรู้ความสามารถ
3) เทคนิคการทำงานซึ่งได้แก่ แรงจูงใจการทำงาน
2.ยุคสงครามโลก (1930-1967)
เน้นการใช้หลักหรือกฎเกณฑ์ในการบริหารทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบริหาร
- นักวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ให้ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารและการเมืองในเรื่องโครงสร้าง และนโยบายให้ความสำคัญในเรื่องการปฏิบัติงาน
- กลุ่มนักวิชาพฤติกรรมศาสตร์ให้ความสนใจเรื่องของระบบราชการและองค์การที่มีแบบแผน ให้ความสำคัญในเรื่องนโยบายสาธารณะ
- นักวิชาการกลุ่มวิชาศาสตร์การบริหารและกลุ่มวิชามนุษย์สัมพันธ์สนใจศึกษากระบวนการและหน้าที่ของการจัดการได้แก่ เรื่องการวางแผน การจัดการองค์การ การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ และการควบคุมงาน
3.ยุคปัจจุบัน (1968-ปัจจุบัน)
ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายประการส่งผลกระทบต่อการบริหารรัฐกิจคือ
- นักวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ให้ความสนใจในการพัฒนาการบริหาร 4 ประการคือ
1) ทางการเมืองและทางสังคม 2) ค่านิยม
3) ความเสมอภาค 4) การเปลี่ยนแปลง
- กลุ่มนักวิชาพฤติกรรมศาสตร์ เน้นองค์ความรู้ความสามารถและหลักประชาธิปไตยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน กล่าวคือปรับปรุงสภาพการทำงาน ปรับปรุงผลผลิต กิจกรรมต่างๆตลอดจนสุขภาพของคนในองค์การด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ซึ่งเป็นเทคนิคที่สอดคล้องกับจิตวิทยาสาขามานุษยวิทยาและประชาธิปไตย
- นักวิชาการกลุ่มวิชาศาสตร์การบริหารและกลุ่มวิชามนุษย์สัมพันธ์สนใจในการบริหารงานแบบเป็นระบบจะประกอบด้วยส่วนต่างๆซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุเป้าหมายก็คือการบริหารงานที่ดูส่วนประกอบและความสัมพันธ์ของส่วนประกอบเหล่านั้น

ความหมายของการบริหาร
การบริหาร หมายถึง การบริหารเป็นการดำเนินการเพื่อให้งานหรือสิ่งที่ต้องกระทำบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ ซึ่งจะต้องมีกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ และเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับผู้บริหารหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงาน ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหาร เพื่อให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า ประหยัดทันเวลาเสียค่าใช้จ่ายน้อย

แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหาร
การบริหารเป็นแนวคิด(Concept) ซึ่งมีความหมายว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการยอมรับของคนแนวคิดแนวคิดทางการบริหารนำมาจากทฤษฎีทางการบริหารโดยตรงคือทฤษฎีที่อธิบายและคาดคะเนพฤติกรรมของคนและองค์กร หรือมาจากทฤษฎีทั่วไปซึ่งเป็นแนวคิดที่อธิบายและคาดคะเนปรากฏการณ์ทางวัตถุและทางสังคมก็ได้ ทฤษฎีหลายทฤษฎีทางการบริหารมาจากทฤษฎีที่เก็บรวบรวมมาจากประสบการณ์ของตัวเองและเรียนรู้มาจากประสบการณ์ของคนอื่นมาระยะหนึ่ง และหลายๆทฤษฎีทางการบริหารมาจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าแนวคิดทางการบริหารมาจากทฤษฎีต่างๆ
แนวคิดทางการบริหารวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบันซึ่งแบ่งเป็น 5 แนวความคิดคือ
1) แนวคิดแบบดั้งเดิม
2) แนวคิดมนุษยสัมพันธ์
3) แนวคิดเชิงปริมาณหรือการบริหารศาสตร์
4) แนวคิดตามสถานการณ์
5) แนวคิดสมัยใหม่
แนวคิดแบบดั้งเดิม
เป็นแนวคิดที่เก่าแก่ที่สุดของการบริหารที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิมประกอบด้วยแนวคิดหลัก 4 แนวคิดคือ
1.การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์
2.การบริหารเชิงระบบ เป็นการกำหนดกระบวนการและขั้นตอนการทำงานของทั้งระบบให้สอดคล้องกันตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ โดยเน้นความสัมพันธ์ภายในของการดำเนินงาน ผู้บริหารจะจะต้องประหยัด มีผู้ปฏิบัติงานจำนวนที่เหมาะสม มีสินค้าคงเหลือให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า
3.หลักการบริหาร Fayol ได้กำหนดหน้าที่ทางการบริหารไว้ 5 หน้าที่ คือ
- การวางแผน - การจัดองค์การ
- การสั่งการ - การประสานงาน
- และการควบคุม
4.หลักราชการ
แนวคิดมนุษยสัมพันธ์
ปัจจุบันในการทำงานผู้บริหารเริ่มหันมาสนใจเรื่องของคน หรือพฤติกรรมของคน แนวคิดทางการบริหารทางด้านมนุษยสัมพันธ์ หรือการบริหารแนวทางพฤติกรรม หรือพฤติกรรมองค์กรซึ่งเป็นการที่การจูงใจ ความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมและการบริหารการขัดแย้งในการบริหารงาน
แนวคิดเชิงปริมาณหรือการบริหารศาสตร์
การบริหารเชิงปริมาณหรือการบริหารศาสตร์ ซึ่งเน้นที่การใช้เทคนิคเชิงปริมาณ หรือเทคนิคทางคณิตศาสตร์มาใช้ตัดสินใจและแก้ปัญหาทางการบริหาร
แนวคิดตามสถานการณ์
1. แนวความคิดการบริหารตามสถานการณ์ประกอบด้วยความสัมพันธ์ 3 แนวคิดคือ
แนวคิดเชิงระบบ เป็นแนวคิดทั่วๆไปและเลื่อนลอยเกินไปโดยระบุว่าทุกอย่างประกอบด้วยย่อยต่างๆ และส่วนย่อยเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันภายในและมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมการเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่อยู่ภายนอกองค์กร
2. แนวคิดเชิงปฏิบัติ เป็นแนวคิดที่จะนำเอาส่วนประกอบเหล่านั้นมาใช้เป็นเครื่องมือปฏิบัติให้เกิดผลจริงในการบริหาร โดยพิจารณาปัจจัยที่เหมือนกันของส่วนประกอบอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
3. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง ซึ่งเป็นเทคนิคที่กำหนดว่าจะรวมเอาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ มาใช้ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ได้อย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับเชิงระบบแนวคิดเชิงระบบ
แนวคิดสมัยใหม่
แนวคิดการบริหารสมัยใหม่ยังคงยึดหลักการบริหารแบบดั้งเดิม แนวคิดมนุษยสัมพัธ์ แนวคิดเชิงปริมาณ และแนวคิดตามสถานการณ์อยู่ แต่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมเพราะไม่มีทฤษฎีการบริหารใดที่เป็นสากลและใช้ได้โดยสมบูรณ์

ทรัพยากรในการบริหาร
INPUT คือทรัพยากรการบริหาร (Management resources) อันได้แก่ 4 M’s ประกอบด้วย
- คน (Man) - เงิน (Money)
- วัตถุดิบ (Material) - และวิธีการ / จัดการ (Method / Management)
ถูกนำเข้าในระบบเพื่อการประมวลผลหรือการบริการที่เติบโตและพัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมกับอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการที่เติบโตและพัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็วทำให้ทรัพยากรเพียง 4 ประการเริ่มไม่เพียงพอสำหรับเป้าหมาย จึงได้เพิ่มขึ้นอีก 2 M’s เป็น 6 M’s ได้แก่
- เครื่องจักรกล (Machine) - และ การตลาด (Market)
ในขณะเดียวกันการทำงานที่มองเห็นถึงความสำคัญ หรือคุณค่าของจิตใจของผู้ปฏิบัติงานมีมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคนงานมากขึ้น จึงเพิ่ม
- ขวัญและกำลังใจ (Morale) เข้าไปเป็น 7 M’s และเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ระบบการสื่อสารไร้พรหมแดนที่ติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลกทำให้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วใครไม่รู้หรือไม่มีข้อมูลย่อมเสียเปรียบในเชิงธุรกิจจึงได้เพิ่ม
- ข้อมูลข่าวสาร (Message) เข้าไปในทรัพยากรกระบวนการผลิต รวมเป็น 8 M’s ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดตราบเท่าที่ระบบอุตสาหกรรมการผลิตการจัดจำหน่ายและการบริการยังคงพัฒนาและก้าวไปไม่หยุดยั้ง
ในการบริหารองค์การทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์การทางการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การบริหารหรือองค์การที่เป็นระเบียบแบบแผนของสังคม ย่อมต้องอาศัยทรัพยากรในการบริหารทั้งสิ้น แนวคิดที่ว่า กระบวนการบริหารประกอบด้วย ขั้นตอนที่สำคัญ ๗ ขั้นตอนได้แก่
P: Planning การวางแผน หมายถึง การเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนการลงมือปฏิบัติจริง
O: Organizing การจัดองค์การ หมายถึง การวางโครงสร้างการทำงานภายในองค์การเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้
S: Staffing การจัดบุคลเข้าทำงาน หมายถึง การจัดบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ให้รับผิดชอบงานในตำแหน่ง เช่น ภารกิจที่เกี่ยวกับบุคลากรทั้งหมด ในเรื่องเกี่ยวกับการสรรหาการฝึกอบรม ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
D: Directing การอำนวยการ หมายถึง กิจกรรมที่เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องทำการตัดสินใจ สั่งการ ออกคำสั่ง และควบคุมการทำงาน
Co: Coordinating การประสานงาน หมายถึง ภาระหน้าที่ในการเชื่อมโยงส่วนต่างๆของงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ พยายามสร้างระบบการติดต่อ สื่อสาร การสร้างกลุ่มงาน
R: Reporting การรายงานผลการปฏิบัติงาน หมายถึง การรายงานถึงสภาพการปฏิบัติงานให้
ผู้บังคับบัญชาทราบ เป็นการแสดงถึงข้อเท็จจริง ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน ตลอดจนการชี้แจง หรือประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
B: Budgeting การงบประมาณ หมายถึง การศึกษาถึงการใช้จ่ายเงินในการบริหารงาน ซึ่งมี
ขั้นตอนตั้งแต่การจัดเตรียม การอนุมัติ และการบริหารงบประมาณ รวมตลอดถึง การวางแผนการคลังการทำบัญชี และการควบคุม เพื่อให้มีการใช้จ่ายเงินตรงตามเป้าหมายของการบริหารที่กำหนดไว้

ทฤษฎีการบริหาร
ทฤษฎี หมายถึง ชุดของแนวคิด (Concepts) คติฐานหรือข้อสันนิษฐาน (Assumption) และข้อยุติโดยทั่วไป (Generalization) ที่อธิบายพฤติกรรมขององค์การ อย่างเป็นระบบ และมีความสัมพันธ์ต่อกัน
ทฤษฎีระบบ(Systems)
คือ แนวความคิดการบริหารจัดการซึ่งมององค์การเป็นระบบตามหน้าที่ ที่สัมพันธ์กันกับสภาพแวดล้อม ในทฤษฎีระบบนี้เป็นกลุ่มของส่วนที่เกี่ยวข้องกันซึ่งต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายเหมือนกันทุกระบบ ในฐานระบบนี้ประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือ
1.ปัจจัยป้อนเข้า (Inputs) คือ ทรัพยากรต่างๆ เช่น คน วัสดุอุปกรณ์ เงิน ข้อมูลสารสนเทศ ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าหรือให้บริการ
2.กระบวนการเปลี่ยนแปลง (Transformation processes) จากการใช้ศักยภาพทางการบริหารและเทคโนโลยีขององค์การ เพื่อเปลี่ยนปัจจัยป้อนเข้าให้เป็นปัจจัยป้อนออก
3.ปัจจัยป้อนออก (Outputs) ประกอบด้วย ผลผลิต การให้บริการ หรือผลลัพธ์อื่นๆที่องค์การผลิตขึ้น
4.ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เกี่ยวกับผลลัพธ์และสถานะขององค์การที่เกี่ยวพันกับสภาพแวดล้อม

1 ความคิดเห็น: