วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว








สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเมืองน้ำดำ

“ฟ้าแดดสูงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์ สัตว์โลกล้านปี”
กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตร ได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำปาว เรียกว่า “บ้านแก่งสำโรง” แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็น “พระยาชัยสุนทร” ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก



กาฬสินธุ์ – พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์
แหล่งท่องเที่ยว: พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ไดโนเสาร์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ค้นพบซากโครงกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์ ซี่งมีอายุกว่า 150 ล้านปี สถานที่ค้นพบ 3 แห่ง ได้แก่ วัดบ้านนาใคร้ อำเภอกุฉินารายณ์ และที่วัดสักกะวัน อำเภอหัสขันธ์ ได้มีการจัดสร้าง "พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว" ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการค้นพบชิ้นส่วนโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่มีความสมบูรณ์ และมากที่สุดในประเทศไทย (มากกว่า 600 ชิ้น) นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2539 ได้มีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์เทอร์โรพอส กลุ่มคาร์โนซอร์ประเภทกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี รอยเท้าไดโนเสาร์ดังกล่าวมีความชัดเจนมาก ถึง 7 รอยบริเวณกลางลานหินร่องน้ำห้วยวังเครือจาน เชิงเขาภูแฝก เทือกเขาภูพาน ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง


สิ่งแวดล้อมรอบๆมหาลัย
สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวนี้เต็มไปด้วยทรัพยากรต่างๆมากมาย ซึ่งในภาพก็จะเห็นงานวันรับปริญญาของรุ่นพี่ซึ่งก็เป็นวันที่๒๒ ธันวาคม ปีนี้เอง บรรยากาศในวันนี้เป็นวันที่น่าภาคภูมิใจแทนพี่ทุกคนมากเลย เพราะเป็นวันที่ประกาศความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งของพี่ๆ หลายคนก็ได้ไปแสดงความยินดีกับพี่ๆเรามากมาย

การบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์

การบริหาร

วิวัฒนาการทางการบริหาร
การศึกษาวิวัฒนาการของวิชาการบริหารอาจแบ่งได้ 3 ยุค คือ
1.ยุคก่อนสงครามโลก (1887-1929)
2.ยุคสงครามโลก (1930-1967)
3.ยุคปัจจุบัน (1968-ปัจจุบัน)
1.ยุคก่อนสงครามโลก (1887-1929)
- เน้นแนวคิดในการแยกการบริหารออกจากการเมือง นักวิชาการกลุ่มรัฐประศาสนศาสตร์แยกการบริหารออกจากการเมืองจากสาเหตุการฉ้อราษฎร์หลวง การเล่นพรรคเล่นพวกในระบบราชการจึงสนใจในการพัฒนาระบบราชการอย่างจริงจัง แยกระบบราชการออกจากงานการเมืองเพื่อลดอำนาจการควบคุมของฝ่ายการเมือง
- กลุ่มนักวิชาพฤติกรรมศาสตร์เสนอแนวคิดแยกการบริหารออกจากการเมืองว่าด้วยทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองอำนาจผู้ปกครองนั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใต้บังคับบัญชา โดยแบ่งอำนาจปกครองออกเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบอาศัยบารมี 2) แบบอาศัยจารีตประเพณี 3) แบบอาศัยกฎหมาย
- นักวิชาการกลุ่มวิชาศาสตร์การบริหารและกลุ่มวิชามนุษย์สัมพันธ์ เป็นการดำเนินการแนววิทยาศาสตร์บนพื้นฐานหลักการและเหตุผลซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ
1) วิธีการทำงานที่ดีที่สุด ซึ่งได้แก่ ผลสำเร็จของงานโดยคำนึงถึงตัวแปรกับค่านิยม สิ่งแวดล้อม ทัศนคติ และปัญหา
2) หลักการทำงาน ซึ่งได้แก่ การสรรหาคนที่พร้อมด้วยความรู้ความสามารถ
3) เทคนิคการทำงานซึ่งได้แก่ แรงจูงใจการทำงาน
2.ยุคสงครามโลก (1930-1967)
เน้นการใช้หลักหรือกฎเกณฑ์ในการบริหารทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบริหาร
- นักวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ให้ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารและการเมืองในเรื่องโครงสร้าง และนโยบายให้ความสำคัญในเรื่องการปฏิบัติงาน
- กลุ่มนักวิชาพฤติกรรมศาสตร์ให้ความสนใจเรื่องของระบบราชการและองค์การที่มีแบบแผน ให้ความสำคัญในเรื่องนโยบายสาธารณะ
- นักวิชาการกลุ่มวิชาศาสตร์การบริหารและกลุ่มวิชามนุษย์สัมพันธ์สนใจศึกษากระบวนการและหน้าที่ของการจัดการได้แก่ เรื่องการวางแผน การจัดการองค์การ การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ และการควบคุมงาน
3.ยุคปัจจุบัน (1968-ปัจจุบัน)
ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายประการส่งผลกระทบต่อการบริหารรัฐกิจคือ
- นักวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ให้ความสนใจในการพัฒนาการบริหาร 4 ประการคือ
1) ทางการเมืองและทางสังคม 2) ค่านิยม
3) ความเสมอภาค 4) การเปลี่ยนแปลง
- กลุ่มนักวิชาพฤติกรรมศาสตร์ เน้นองค์ความรู้ความสามารถและหลักประชาธิปไตยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน กล่าวคือปรับปรุงสภาพการทำงาน ปรับปรุงผลผลิต กิจกรรมต่างๆตลอดจนสุขภาพของคนในองค์การด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ซึ่งเป็นเทคนิคที่สอดคล้องกับจิตวิทยาสาขามานุษยวิทยาและประชาธิปไตย
- นักวิชาการกลุ่มวิชาศาสตร์การบริหารและกลุ่มวิชามนุษย์สัมพันธ์สนใจในการบริหารงานแบบเป็นระบบจะประกอบด้วยส่วนต่างๆซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุเป้าหมายก็คือการบริหารงานที่ดูส่วนประกอบและความสัมพันธ์ของส่วนประกอบเหล่านั้น

ความหมายของการบริหาร
การบริหาร หมายถึง การบริหารเป็นการดำเนินการเพื่อให้งานหรือสิ่งที่ต้องกระทำบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ ซึ่งจะต้องมีกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ และเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับผู้บริหารหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงาน ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหาร เพื่อให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า ประหยัดทันเวลาเสียค่าใช้จ่ายน้อย

แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหาร
การบริหารเป็นแนวคิด(Concept) ซึ่งมีความหมายว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการยอมรับของคนแนวคิดแนวคิดทางการบริหารนำมาจากทฤษฎีทางการบริหารโดยตรงคือทฤษฎีที่อธิบายและคาดคะเนพฤติกรรมของคนและองค์กร หรือมาจากทฤษฎีทั่วไปซึ่งเป็นแนวคิดที่อธิบายและคาดคะเนปรากฏการณ์ทางวัตถุและทางสังคมก็ได้ ทฤษฎีหลายทฤษฎีทางการบริหารมาจากทฤษฎีที่เก็บรวบรวมมาจากประสบการณ์ของตัวเองและเรียนรู้มาจากประสบการณ์ของคนอื่นมาระยะหนึ่ง และหลายๆทฤษฎีทางการบริหารมาจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าแนวคิดทางการบริหารมาจากทฤษฎีต่างๆ
แนวคิดทางการบริหารวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบันซึ่งแบ่งเป็น 5 แนวความคิดคือ
1) แนวคิดแบบดั้งเดิม
2) แนวคิดมนุษยสัมพันธ์
3) แนวคิดเชิงปริมาณหรือการบริหารศาสตร์
4) แนวคิดตามสถานการณ์
5) แนวคิดสมัยใหม่
แนวคิดแบบดั้งเดิม
เป็นแนวคิดที่เก่าแก่ที่สุดของการบริหารที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิมประกอบด้วยแนวคิดหลัก 4 แนวคิดคือ
1.การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์
2.การบริหารเชิงระบบ เป็นการกำหนดกระบวนการและขั้นตอนการทำงานของทั้งระบบให้สอดคล้องกันตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ โดยเน้นความสัมพันธ์ภายในของการดำเนินงาน ผู้บริหารจะจะต้องประหยัด มีผู้ปฏิบัติงานจำนวนที่เหมาะสม มีสินค้าคงเหลือให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า
3.หลักการบริหาร Fayol ได้กำหนดหน้าที่ทางการบริหารไว้ 5 หน้าที่ คือ
- การวางแผน - การจัดองค์การ
- การสั่งการ - การประสานงาน
- และการควบคุม
4.หลักราชการ
แนวคิดมนุษยสัมพันธ์
ปัจจุบันในการทำงานผู้บริหารเริ่มหันมาสนใจเรื่องของคน หรือพฤติกรรมของคน แนวคิดทางการบริหารทางด้านมนุษยสัมพันธ์ หรือการบริหารแนวทางพฤติกรรม หรือพฤติกรรมองค์กรซึ่งเป็นการที่การจูงใจ ความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมและการบริหารการขัดแย้งในการบริหารงาน
แนวคิดเชิงปริมาณหรือการบริหารศาสตร์
การบริหารเชิงปริมาณหรือการบริหารศาสตร์ ซึ่งเน้นที่การใช้เทคนิคเชิงปริมาณ หรือเทคนิคทางคณิตศาสตร์มาใช้ตัดสินใจและแก้ปัญหาทางการบริหาร
แนวคิดตามสถานการณ์
1. แนวความคิดการบริหารตามสถานการณ์ประกอบด้วยความสัมพันธ์ 3 แนวคิดคือ
แนวคิดเชิงระบบ เป็นแนวคิดทั่วๆไปและเลื่อนลอยเกินไปโดยระบุว่าทุกอย่างประกอบด้วยย่อยต่างๆ และส่วนย่อยเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันภายในและมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมการเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่อยู่ภายนอกองค์กร
2. แนวคิดเชิงปฏิบัติ เป็นแนวคิดที่จะนำเอาส่วนประกอบเหล่านั้นมาใช้เป็นเครื่องมือปฏิบัติให้เกิดผลจริงในการบริหาร โดยพิจารณาปัจจัยที่เหมือนกันของส่วนประกอบอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
3. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง ซึ่งเป็นเทคนิคที่กำหนดว่าจะรวมเอาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ มาใช้ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ได้อย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับเชิงระบบแนวคิดเชิงระบบ
แนวคิดสมัยใหม่
แนวคิดการบริหารสมัยใหม่ยังคงยึดหลักการบริหารแบบดั้งเดิม แนวคิดมนุษยสัมพัธ์ แนวคิดเชิงปริมาณ และแนวคิดตามสถานการณ์อยู่ แต่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมเพราะไม่มีทฤษฎีการบริหารใดที่เป็นสากลและใช้ได้โดยสมบูรณ์

ทรัพยากรในการบริหาร
INPUT คือทรัพยากรการบริหาร (Management resources) อันได้แก่ 4 M’s ประกอบด้วย
- คน (Man) - เงิน (Money)
- วัตถุดิบ (Material) - และวิธีการ / จัดการ (Method / Management)
ถูกนำเข้าในระบบเพื่อการประมวลผลหรือการบริการที่เติบโตและพัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมกับอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการที่เติบโตและพัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็วทำให้ทรัพยากรเพียง 4 ประการเริ่มไม่เพียงพอสำหรับเป้าหมาย จึงได้เพิ่มขึ้นอีก 2 M’s เป็น 6 M’s ได้แก่
- เครื่องจักรกล (Machine) - และ การตลาด (Market)
ในขณะเดียวกันการทำงานที่มองเห็นถึงความสำคัญ หรือคุณค่าของจิตใจของผู้ปฏิบัติงานมีมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคนงานมากขึ้น จึงเพิ่ม
- ขวัญและกำลังใจ (Morale) เข้าไปเป็น 7 M’s และเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ระบบการสื่อสารไร้พรหมแดนที่ติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลกทำให้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วใครไม่รู้หรือไม่มีข้อมูลย่อมเสียเปรียบในเชิงธุรกิจจึงได้เพิ่ม
- ข้อมูลข่าวสาร (Message) เข้าไปในทรัพยากรกระบวนการผลิต รวมเป็น 8 M’s ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดตราบเท่าที่ระบบอุตสาหกรรมการผลิตการจัดจำหน่ายและการบริการยังคงพัฒนาและก้าวไปไม่หยุดยั้ง
ในการบริหารองค์การทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์การทางการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การบริหารหรือองค์การที่เป็นระเบียบแบบแผนของสังคม ย่อมต้องอาศัยทรัพยากรในการบริหารทั้งสิ้น แนวคิดที่ว่า กระบวนการบริหารประกอบด้วย ขั้นตอนที่สำคัญ ๗ ขั้นตอนได้แก่
P: Planning การวางแผน หมายถึง การเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนการลงมือปฏิบัติจริง
O: Organizing การจัดองค์การ หมายถึง การวางโครงสร้างการทำงานภายในองค์การเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้
S: Staffing การจัดบุคลเข้าทำงาน หมายถึง การจัดบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ให้รับผิดชอบงานในตำแหน่ง เช่น ภารกิจที่เกี่ยวกับบุคลากรทั้งหมด ในเรื่องเกี่ยวกับการสรรหาการฝึกอบรม ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
D: Directing การอำนวยการ หมายถึง กิจกรรมที่เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องทำการตัดสินใจ สั่งการ ออกคำสั่ง และควบคุมการทำงาน
Co: Coordinating การประสานงาน หมายถึง ภาระหน้าที่ในการเชื่อมโยงส่วนต่างๆของงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ พยายามสร้างระบบการติดต่อ สื่อสาร การสร้างกลุ่มงาน
R: Reporting การรายงานผลการปฏิบัติงาน หมายถึง การรายงานถึงสภาพการปฏิบัติงานให้
ผู้บังคับบัญชาทราบ เป็นการแสดงถึงข้อเท็จจริง ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน ตลอดจนการชี้แจง หรือประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
B: Budgeting การงบประมาณ หมายถึง การศึกษาถึงการใช้จ่ายเงินในการบริหารงาน ซึ่งมี
ขั้นตอนตั้งแต่การจัดเตรียม การอนุมัติ และการบริหารงบประมาณ รวมตลอดถึง การวางแผนการคลังการทำบัญชี และการควบคุม เพื่อให้มีการใช้จ่ายเงินตรงตามเป้าหมายของการบริหารที่กำหนดไว้

ทฤษฎีการบริหาร
ทฤษฎี หมายถึง ชุดของแนวคิด (Concepts) คติฐานหรือข้อสันนิษฐาน (Assumption) และข้อยุติโดยทั่วไป (Generalization) ที่อธิบายพฤติกรรมขององค์การ อย่างเป็นระบบ และมีความสัมพันธ์ต่อกัน
ทฤษฎีระบบ(Systems)
คือ แนวความคิดการบริหารจัดการซึ่งมององค์การเป็นระบบตามหน้าที่ ที่สัมพันธ์กันกับสภาพแวดล้อม ในทฤษฎีระบบนี้เป็นกลุ่มของส่วนที่เกี่ยวข้องกันซึ่งต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายเหมือนกันทุกระบบ ในฐานระบบนี้ประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือ
1.ปัจจัยป้อนเข้า (Inputs) คือ ทรัพยากรต่างๆ เช่น คน วัสดุอุปกรณ์ เงิน ข้อมูลสารสนเทศ ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าหรือให้บริการ
2.กระบวนการเปลี่ยนแปลง (Transformation processes) จากการใช้ศักยภาพทางการบริหารและเทคโนโลยีขององค์การ เพื่อเปลี่ยนปัจจัยป้อนเข้าให้เป็นปัจจัยป้อนออก
3.ปัจจัยป้อนออก (Outputs) ประกอบด้วย ผลผลิต การให้บริการ หรือผลลัพธ์อื่นๆที่องค์การผลิตขึ้น
4.ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เกี่ยวกับผลลัพธ์และสถานะขององค์การที่เกี่ยวพันกับสภาพแวดล้อม

ฝาก… ไว้ให้คิด

“คนที่ไม่กล้าทำอะไร ไม่ควรหวังที่จะได้อะไร”
“เราควรทำบางสิ่งบางอย่างให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ขณะที่บางสิ่งแค่ได้ทำก็พอแล้ว แต่บางสิ่งไม่จำเป็นต้องไปทำมันเลย รู้จักแบ่งแยกบ้างว่า อะไรเป็นอะไร”
“เคล็ดลับของความก้าวหน้า คือ การยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเองอย่างกล้าหาญ แล้วรีบปรับปรุงแก้ไขให้ทันท่วงที”
“จงระวัง คำพูดที่เราพูดไปแล้วเป็นเจ้านายของเรา เมื่อพูดไปแล้วไม่สามารถแก้ไขได้อีก”

มุม…ดีดีที่อ่าน

คน…หนังสือ
คนเราแต่ละคน
ก็เหมือนกับหนังสือแต่ละเล่ม
ที่มีความแตกต่างกันออกไป
หนังสือบางเล่ม
เราสามารถที่คาดเดาเรื่องราวได้จนจบ
เพียงแค่อ่านจากบทนำเท่านั้น
แต่หนังสือบางเล่ม
แม้ว่าจะอ่านไปได้เกือบครึ่งเล่ม
แต่เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจ
หรือคาดเดาเรื่องราวในแต่ละบรรทัดต่อไปได้เลย
แต่ทว่า
หนังสือทุกเล่ม
ก็ยังมีความเหมือนกันอยู่
นั่นคือข้อคิดที่สอดแฝงอยู่ในหนังสือเล่มนั้นนั้น
ให้เราได้ค้นหา
เหมือนกับที่คนทุกคน
ก็ต่างมีเสี้ยวชีวิตที่น่าสนใจให้ศึกษาเช่นกัน

การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย




รู้จักกันก่อน ฉัน สาวเมืองน้ำดำ ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ข้อมูลโดยสังเขป: ครั้งแรกที่เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยากาศในตอนนั้นมันช่างน่าตื่นเต้นมากๆ ผู้คนมากมายที่มาจากทุกภาคซึ่งแต่ละคนที่เข้ามาที่นี่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือเพื่อที่จะมาศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ แต่ละคนเดินทางมาหาประสบการณ์คนเดียวบ้าง มีเพื่อนมาด้วยบ้างซึ่งก็เป็นการเรียนรู้และประสบการณ์ที่น่าจดจำ อีกทั้งได้เรียนรู้การปรับตัวเข้าหาเพื่อนทั้งเพื่อนที่พักอยู่ห้องเดียวกัน เพื่อน พี่ และน้อง ที่พึ่งมารู้จักกันซึ่งถ้าใครปรับตัวเข้าหาผู้อื่นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่กับสังคมได้อย่างมีความสุข
ในวันที่เข้ามาเราก็มุ่งหน้ามาที่คณะก่อนแล้วจากนั้นเอาของมาเก็บไว้ที่หอพักที่จองไว้ คือหอพักที่19 ซึ่งเป็นหอพักหญิงเรามาเรียนที่นี่เรามีเพื่อนที่สอบเข้ามาเรียนที่นี่อยู่หลายคน จึงทำให้เราไม่เหงาเท่าทีควร และเราก็รู้จักกับเพื่อนที่เรียนสาขาเดียวกันโดยพักอยู่หอเดียวกันด้วยทำให้ไม่มีปัญหา แต่บางครั้งก็น่าเบื่อเหมือนกันเพราะในแต่ละวันไม่รู้จะไปไหน เรียนเสร็จก็กลับหอพัก กลับมาแล้วทำอะไรล่ะ ก็มานอนนะสิ บ่ายโมงมีเรียนก็ตื่นไปเรียนต่อ ชีวิตในแต่ละวันก็เป็นอย่างนี้เรื่อยไป บางครั้งก็สนุก บางครั้งก็น่าเบื่อ ถ้าเราจะออกไปเที่ยวก็ไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี เพราะไม่จักที่ไหนเลยนอกจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นแห่งนี้ แต่จะพูดไปแล้วที่เที่ยวก็เยอะแยะทำไมเราไม่รู้ที่จะไปเลยล่ะ ถ้ารู้กับเขาบ้างก็คงจะมีแต่บึงแก่นนครนั่นแหล่ะนะ ไปกราบพระ เข้าไปเที่ยวชมเจดีย์ ๙ ชั้น พูดไปแล้วการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยก็มีมากมาย ซ้ำซากบ้างก็มีมุมที่สนุกบ้างไม่สนุกบ้างอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนแต่ละคนว่าจะเลือกเดินไปทางไหนบ้าง จะว่าไปแล้วการใช้ชีวิตในมหาลัยเป็นเสี้ยวชีวิตที่สบายที่สุดแล้ว
และในมหาลัยมีกิจกรรมให้ทำอยู่ตลอดเวลา อาทิ กิจกรรมรับน้องใหม่ งานลอยกระทง งานเปิดหอพัก งานรับปริญญาพี่ๆบัณฑิต ฯลฯ เรามาใช้ชีวิตอยู่ที่มหาวิทยาลัยเรารู้สึกภาคภูมิใจมากและจะใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้คุ้มค่าที่สุด สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกๆท่านที่ให้ความรู้แก่เรามากมายและจะนำคำสอนความรู้ ที่ได้รับไปพัฒนาสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุด สุดท้ายท้ายสุดดิฉันในฐานะที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ดิฉันก็ขอให้เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยเดียวกันจงใช้ชีวิตในมหาวิทยาให้คุ้มค่าและเป็นประโยชน์แก่ทั้งตนเองและผู้อื่นให้มากที่สุดแล้วกันนะคะ และขอให้ประสบความสำเร็จกันทุกๆคน จงทำแต่สิ่งดีๆไว้เพื่อตนเองและคนที่เรารักกันนะคะ ขอให้ท่านผู้อ่านบทความของดิฉันนี้จงมีความสุขกันทุกๆคนคะ